ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งรัฐบาล
มีมาตรการให้ประชาชนทุกคนร่วมกัน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ทำให้มีประชาชนทำงานที่บ้าน หรือหยุดอยู่กับบ้านเป็นจำนวนมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ซึ่งส่งผลให้อัตราการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นจนหลายคนเกิดความสงสัย กฟผ. จึงได้ร่วมกันจัดทำชุดคำถาม–ตอบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน รับทราบข้อมูลและสามารถนำไปช่วยไขข้องใจให้กับเพื่อนฝูง ญาติมิตร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นต่าง ๆ.
ประเด็นที่ 1 ทำไมค่าไฟฟ้าแพงขึ้นในช่วงฤดูร้อน
ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า หน่วยงานการไฟฟ้าไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนการจดมิเตอร์ตามครัวเรือนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่ราคาสูงขึ้นอาจมาจากหลายปัจจัย ได้แก่
1.1 สภาพอากาศภายนอกที่ร้อนมากขึ้น ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ ที่กินไฟมากขึ้นตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะใช้งานเท่าเดิม การที่เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมากขึ้นเกิดจากการทำงานหนักมากขึ้น รักษาอุณหภูมิตามที่ตั้งไว้
ยกตัวอย่างเช่น การเปิดปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ทำให้ความร้อนเข้าไปในตู้เย็นขณะเปิดประตู ซึ่งตู้เย็นต้องทำงานมากขึ้น เพื่อรักษาอุณหภูมิเอาไว้
หรือในกรณีของเครื่องปรับอากาศเช่นกัน ที่เมื่ออุณหภูมิภายนอกร้อน เครื่องปรับอากาศก็ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิให้เหลือเท่าที่ตั้งไว้ หรือหากปิดและเปิดประตูห้องบ่อย ๆ ความร้อนก็เข้าไปภายในห้อง ซึ่งเครื่องปรับอากาศก็จะต้องทำงานหนักมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นในช่วงที่สภาพอากาศร้อน จึงทำให้จำนวนหน่วยพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
1.2 อัตราการคิดค่าไฟฟ้าในครัวเรือนในประเทศไทย เป็นแบบอัตราก้าวหน้า
การคิดอัตราค่าไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศไทย เป็นลักษณะในการเก็บของอัตราก้าวหน้า โดยมีอัตราการจัดเก็บ ดังนี้
หน่วยที่ 0 - 150 หน่วย ราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
หน่วยที่ 151 - 400 หน่วย ราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
หน่วยที่ 400 ขึ้นไป ราคาหน่วยละ 4.4217 บาท
ดังนั้นแล้ว หากใช้ไฟมากกว่า 400 หน่วย ให้คำนวณตามสูตรก็คือ 150 หน่วยแรก เท่ากับ 487.26 บาท บวกกับ 250 หน่วยถัดมา 1,055.45 บาท และส่วนที่เกิน 400 หน่วยก็นำไปคูณกับ หน่วยละ 4.4217 บาท และสุดท้ายแล้วเงินจำนวนนี้ ก็จะต้องนำไปคิดรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ในตอนท้ายด้วย
1.3 นโยบายการอยู่บ้าน ที่ส่งผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น
จากนโยบายอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ และแนวทางปฏิบัติ Social Distancing ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้คนมีพฤติกรรมใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจาก ผู้คนไม่สามารถออกไปภายนอกบ้านได้ และมีสมาชิกอาศัยอยู่ภายในบ้านเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงแนวทางการ Social Distancing ที่อาจทำให้คนอยู่แต่ภายในห้องของตัวเอง เปิดใช้ไฟฟ้ากับแบบส่วนตัวมากขึ้น จึงอาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น
ประเด็นที่ 2 ประเด็นเรื่องการคิดค่าไฟฟ้า
การไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงาน
ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาค่าไฟเอง
เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การกำหนดราคาค่าไฟฟ้าจึงต้อง
1) สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
2) เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีรายได้น้อย
3) คิดกำไรอยู่ในอัตราต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ประเทศไทยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำหนดค่าไฟฟ้า และเป็นหน่วยงานที่ควบคุมการดำเนินงานในกิจการไฟฟ้าของไทย (Regulator)
โดยที่การไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงาน
ไม่ได้เป็นผู้กำหนดค่าไฟฟ้าในส่วนนี้
นอกจากนี้แล้ว ในวิกฤตครั้งนี้ก็ได้มีการช่วยเหลือเรื่องสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาค่าไฟฟ้า การกำหนดให้ผู้มีรายได้น้อยใช้ไฟฟรี และการคืนค่าประกันไฟฟ้า และอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการอื่น ๆ ต่อไป
ประเด็นที่ 3 การไฟฟ้าให้อะไรกับประชาชนบ้าง
กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การดำเนินกิจการเมื่อมีกำไรต้องนำเข้ารัฐ เพื่อเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศต่อไป และกำไรอีกส่วนหนึ่งจะเก็บไว้เป็นเงินทุนสำหรับการลงทุนในอนาคตของแต่ละหน่วยงาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่ส่งเงินเข้าคลังเป็นอันดับต้นๆ เสมอ (ที่มาจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875061
ประเด็นที่ 4 โบนัส
การไฟฟ้าไม่ได้กำหนดเปอร์เซ็นต์โบนัสเอง ต้องผ่านเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ประเด็นเรื่องของโบนัสประจำปีนั้น การที่รัฐวิสาหกิจแต่ละหน่วยงานจะได้รับโบนัสจะต้องผ่านข้อกำหนด และการประเมินผลหลายประการจาก สคร.และต้องบริหารจัดการองค์กรให้ได้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะได้รับการพิจารณาได้แก่ การดำเนินงานตามนโยบาย การบริหารจัดการองค์กร และผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
ประเด็นที่ 5 ความต้องการการใช้ไฟไม่มี
ควรหยุดลงทุนผลิตไฟฟ้า
มีการลดการลงทุนแน่นอน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา
ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานความพร้อมฟื้นฟูประเทศ
การขยายตัวของความต้องการการใช้ไฟฟ้าจะแปรผันตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และส่งผลต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าให้ลดลงอย่างมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ทั้งนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานความพร้อมในการฟื้นฟูประเทศ
อย่างไรก็ตามการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาฟื้นคืนได้เร็วขึ้น
ประเด็นที่ 6 กฟผ. ทำอะไรในวิกฤต COVID-19
กฟผ. มีการปรับแผนการดำเนินงาน เพื่อนำมาร่วมแก้ไขวิกฤต อันเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานของรัฐพึงกระทำ
ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเช่นนี้ กฟผ. ได้เดินหน้าทุ่มสรรพกำลัง ทั้งงบประมาณ และแรงงานอย่างเต็มกำลัง ดังนี้
1. การตัดงบประมาณที่สามารถชะลอ และปรับแผนงาน CSR ที่ไม่เร่งด่วนออกทุกเรื่องเพื่อเปลี่ยนเป็นงบประมาณในการแก้ไขวิกฤตการณ์ครั้งนี้ สำหรับและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมทั้งการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
2. เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายจากการใช้ไฟฟ้าในช่วงวิกฤตครั้งนี้ กฟผ. ได้ใช้มาตรการเข้มข้นกักบริเวณผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่อง และผู้ปฏิบัติงานประจำสถานีไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ให้อยู่ในพื้นที่ Safe Zone ป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น